วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

1.สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เเบ่งเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ คือ 1.ยุคหินเเละ 2.ยุคโลหะ



1.สมัยก่อนประวัติศาสตร์

เเบ่งเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ คือ 1.ยุคหินเเละ 2.ยุคโลหะ

 1. ยุคหิน

ยุุุคหิน (Stone Age) แบ่งออกเป็นยุคย่อยๆ 3 ยุค คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่

  1.ยุคหินเก่า (Poalelithic Periode หรือ Old Stone Age) ประมาณ 5,000,000 ปีล่วงมาแล้ว   

 1. ยุคหิน (Ston Age) ยุคหินแบ่งออกเป็นยุคย่อย 3 ยุค คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่


  1.1. ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 2,000,000 - 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล

        1.1.1 มนุษย์ในยุคหินเก่าต้องพึ่งพาธรรมชาติมาก ดำรงชีวิตด้วยการเก็บหาผลไม้และล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร จอยู่อาศัยตามถ้ำ และรู้จักใช้ไฟหุงต้มอาหาร 
        1.1.2 ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ เป็นรูปสัตว์ป่า ผลงานที่ดีที่สุดแสดงถึงวัฒนธรรมขั้นสูงของมนุษย์ยุคหินเก่า คือ ภาพวาดรูปสัตว์บนฝาผนังถ้ำ อัตตามิรา (Altamira) ในประเทศสเปน

การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคหินเก่า
ภาพวาดบนฝาผนังถ้ำ Altamira


  1.2. ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล
        1.2.1 มนุษย์ยุคหินกลางรู้จักการตั้งถิ่นฐานภายนอกถ้ำ เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินแต่มีความประณีตมากขึ้น รู้จักทำศรธนูล่าสัตว์ ทำขวานหิน ทำการเพาะปลูก จับปลา และปั้นหม้อไหด้วยดินเหนียวตากแห้ง
        1.2.2 ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม มีภาพวาดตามชะง่อนหินผา ในเขตชายฝั่งตะวันออกของประเทศสเปน แต่จะมีรูปมนุษย์และรูปสัตว์ปรากฎในภาพร่วมกัน สันนิษฐานว่ามนุษย์ในยุคหินกลางคงมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ 

การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคหินกลาง

  1.3. ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล

        1.3.1 มนุษย์ยุคหินใหม่ รู้จักผลิตอาหารได้เอง รู้จักการทอผ้า ใช้เครื่องนุ่งห่มและทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ยังทำด้วยหิน เขาสัตว์ หรือกระดูกสัตว์ แต่พัฒนาฝีมือประณีตขึ้น จึงมักเรียกยุคนี้ว่า "ยุคหินขัด" ตลอดจนรู้จักการนำสุนัขมาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน
        1.3.2 การตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนและพัฒนาเป็นสังคมเกษตรกรรม มนุษย์ในยุคหินใหม่หยุดการเร่ร่อนติดตามฝูงสัตว์ จะตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวหรือไม้อย่างง่ายๆ รวมตัวเป็นหมู่บ้าน มีผู้นำ หัวหน้าเผ่า และประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการค้า มีช่างฝีมือ ฯลฯ มีความเจริญมากขึ้น
        1.3.3 ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม มีเครื่องประดับตกแต่ง เครื่องใช้ประเภทเครื่องปั้นดินเผาและอนุสาวรีย์หิน ซึ่งเป็นงานสถาปัตยกรรมพื้นฐานของมนุษย์ ที่มีชื่อเสียงมาก คือ "สโตนเฮนจ์" (Stonehenge) 



2.ยุคโลหะ

2. ยุคโลหะ(Metal Age) แบ่งออกเป็น 2 ยุคย่อย คือ ยุคสำริดและยุคเหล็ก 

    2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเมื่อประมาณ 4,000 – 2,700 ปีมาแล้วสำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุ่งยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยการตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์หินทรายหรือแม่พิมพ์ดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้ว ยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็ก เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด ฯลฯ ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิต อันนำไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิม และมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา 

เครื่องมือสำริด


   2.2 ยุคเหล็ก (Iron) ประมาณ 2,700 – 2,000 ปีมาแล้ว ช่วงเวลานี้เริ่มต้นการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์ที่สามารถหลอมโลหะประเภทเหล็กขึ้นมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้ เหล็กมีความแข็งแกร่งคงทนกว่าสำริดมาก การผลิตเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงและมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็กจะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นรัฐ เพราะการผลิตเหล็กทำให้สังคมสามารถผลิตอาวุธได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถขยายกองทัพได้ และมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตรที่มีความคงทนกว่า แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้ คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว ยุคเหล็กมีความแตกต่างจากยุคสำริดหลายประการ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต การผลิตเหล็กทำให้กองทัพมีอาวุธที่แข็งแกร่งนำไปสู่พัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นรัฐที่มีกำลังทหารที่เข็มแข็ง เข้ายึดครองสังคมอื่น ๆ ขยายเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น