วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

2.สมัยประวัติศาตร์


                                        2. สมัยประวัติศาสตร์              


สมัยประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร  หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทย  คือ  ศิลาจารึก  ในหลายพื้นที่พบศิลาจารึกที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน  เช่น  ที่ศรีเทพ  จังหวัดเพชรบูรณ์  ที่ซับจำปา  จังหวัดลพบุรี  ส่วนจารึกที่ปรากฏศักราชชัดเจนที่สุด  คือ  จารึกอักษรปัลลวะ  เป็นภาษาสันสกฤตและเขมร  พบที่ปราสาทเขาน้อย  จังหวัดปราจีนบุรี  ระบุมหาศักราช 559 หรือตรงกับ พ.ศ. 1180
                
สำหรับการแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยโดยละเอียดมีดังนี้
     1)  สมัยอาณาจักรรุ่นแรก ๆ  นับช่วงเวลาก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัย  เช่น  อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)  อาณาจักรละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12-18)  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ  เช่น  ศิลาจารึก   เหรียญจารึก  รัฐโบราณเหล่านี้มีการสร้างสรรค์อารยธรรมภายใน  และมีการรับและแลกเปลี่ยนอารยธรรมจากภายนอก  เช่น  การรับพระพุทธศาสนา  ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  การติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างแดน  เป็นต้น
      2)  สมัยสุโขทัย  ตั้งแต่การสถาปนากรุงสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1792  จนสุโขทัยถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2006  สมัยสุโขทัยเป็นช่วงที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยหลายประการ  เช่น  ตัวหนังสือ  การนับถือพระพุทธศาสนา  การสร้างสรรค์ศิลปะที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง  เช่น  เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์  พระพุทธรูปปางลีลา  เป็นต้น
       3)  สมัยอยุธยา  ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 - 2310  สามารถแบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้อีก  โดยแบ่งตามสมัยของราชวงศ์และแบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์
       3.1  แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครอง  ได้แก่  ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1893-1913 และ พ.ศ. 1931-1952)  ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1913-1931 และ พ.ศ. 1952-2112)  ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112-2173)  ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2173-2231)  ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231-2310)

        3.2  แบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์  ได้แก่
        (1)  สมัยการวางรากฐานและการสร้างความมั่นคง  เริ่มตั้งแต่การตั้งอาณาจักรเป็นสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ใน พ.ศ. 1893 จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)  ในพ.ศ. 1991  เป็นช่วงที่อาณาจักรยังมีขนาดเล็ก  ต่อมาได้ขยายอำนาจไปโจมตีอาณาจักรขอม  ทำให้ราชสำนักอยุธยาได้รับวัฒนธรรมขอมเข้ามา  รวมทั้งการทำการค้ากับต่างชาติ  เช่น  จีน
         (2)  สมัยแห่งความมั่นคงทางการเมืองและเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1991  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน พ.ศ. 2231  เป็นช่วงที่ระบบการปกครองมีระเบียบแบบแผน  มีความมั่นคง  มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติอย่างกว้างขวาง
         (3)  สมัยเสื่อมอำนาจ  ตั้งแต่ พ.ศ. 2231-2310  เป็นสมัยที่มีกบฏภายใน  มีการแย่งชิงอำนาจกันเองหลายครั้ง  ส่งผลให้ราชสำนักอ่อนแอและเสียกรุงใน พ.ศ. 2310
         (4)  สมัยธนบุรี  ตั้งแต่ พ.ศ. 2310-2325  เป็นสมัยของการฟื้นฟูบ้านเมืองหลังเสียกรุงศรีอยุธยา  มีการทำสงครามเกือบตลอดเวลา
         (5)  สมัยรัตนโกสินทร์  ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน  มีการแบ่งเป็นสมัยย่อยโดยยึดตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและการปกครองร่วม กัน  โดยแบ่งได้ดังนี้
          5.1  สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-2394  อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3  เป็นช่วงการฟื้นฟูอาณาจักรในทุกด้านต่อจากสมัยธนบุรี
          5.2  สมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลางปรับปรุงประเทศ  ตั้งแต่ พ.ศ. 2394-2495  อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 7  เป็นช่วงที่มีการติดต่อกับต่างชาติ  มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก  จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
           5.3  สมัยประชาธิปไตย  ตั้งแต่ พ.ศ. 2475  จนถึงปัจจุบัน  เป็นช่วงที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย  มีรัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการ เมือง  บ้านเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว

วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

1.สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เเบ่งเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ คือ 1.ยุคหินเเละ 2.ยุคโลหะ



1.สมัยก่อนประวัติศาสตร์

เเบ่งเป็น 2 ยุคใหญ่ๆ คือ 1.ยุคหินเเละ 2.ยุคโลหะ

 1. ยุคหิน

ยุุุคหิน (Stone Age) แบ่งออกเป็นยุคย่อยๆ 3 ยุค คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่

  1.ยุคหินเก่า (Poalelithic Periode หรือ Old Stone Age) ประมาณ 5,000,000 ปีล่วงมาแล้ว   

 1. ยุคหิน (Ston Age) ยุคหินแบ่งออกเป็นยุคย่อย 3 ยุค คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง ยุคหินใหม่


  1.1. ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 2,000,000 - 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล

        1.1.1 มนุษย์ในยุคหินเก่าต้องพึ่งพาธรรมชาติมาก ดำรงชีวิตด้วยการเก็บหาผลไม้และล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร จอยู่อาศัยตามถ้ำ และรู้จักใช้ไฟหุงต้มอาหาร 
        1.1.2 ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำ เป็นรูปสัตว์ป่า ผลงานที่ดีที่สุดแสดงถึงวัฒนธรรมขั้นสูงของมนุษย์ยุคหินเก่า คือ ภาพวาดรูปสัตว์บนฝาผนังถ้ำ อัตตามิรา (Altamira) ในประเทศสเปน

การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคหินเก่า
ภาพวาดบนฝาผนังถ้ำ Altamira


  1.2. ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล
        1.2.1 มนุษย์ยุคหินกลางรู้จักการตั้งถิ่นฐานภายนอกถ้ำ เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยหินแต่มีความประณีตมากขึ้น รู้จักทำศรธนูล่าสัตว์ ทำขวานหิน ทำการเพาะปลูก จับปลา และปั้นหม้อไหด้วยดินเหนียวตากแห้ง
        1.2.2 ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม มีภาพวาดตามชะง่อนหินผา ในเขตชายฝั่งตะวันออกของประเทศสเปน แต่จะมีรูปมนุษย์และรูปสัตว์ปรากฎในภาพร่วมกัน สันนิษฐานว่ามนุษย์ในยุคหินกลางคงมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ 

การดำรงชีวิตของมนุษย์ยุคหินกลาง

  1.3. ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล

        1.3.1 มนุษย์ยุคหินใหม่ รู้จักผลิตอาหารได้เอง รู้จักการทอผ้า ใช้เครื่องนุ่งห่มและทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ยังทำด้วยหิน เขาสัตว์ หรือกระดูกสัตว์ แต่พัฒนาฝีมือประณีตขึ้น จึงมักเรียกยุคนี้ว่า "ยุคหินขัด" ตลอดจนรู้จักการนำสุนัขมาเลี้ยงไว้เป็นเพื่อน
        1.3.2 การตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนและพัฒนาเป็นสังคมเกษตรกรรม มนุษย์ในยุคหินใหม่หยุดการเร่ร่อนติดตามฝูงสัตว์ จะตั้งถิ่นฐานถาวรเป็นกระท่อมดินเหนียวหรือไม้อย่างง่ายๆ รวมตัวเป็นหมู่บ้าน มีผู้นำ หัวหน้าเผ่า และประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีการค้า มีช่างฝีมือ ฯลฯ มีความเจริญมากขึ้น
        1.3.3 ผลงานด้านศิลปวัฒนธรรม มีเครื่องประดับตกแต่ง เครื่องใช้ประเภทเครื่องปั้นดินเผาและอนุสาวรีย์หิน ซึ่งเป็นงานสถาปัตยกรรมพื้นฐานของมนุษย์ ที่มีชื่อเสียงมาก คือ "สโตนเฮนจ์" (Stonehenge) 



2.ยุคโลหะ

2. ยุคโลหะ(Metal Age) แบ่งออกเป็น 2 ยุคย่อย คือ ยุคสำริดและยุคเหล็ก 

    2.1 ยุคสำริด (Bronze Age) ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกเมื่อประมาณ 4,000 – 2,700 ปีมาแล้วสำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุ่งยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยการตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์หินทรายหรือแม่พิมพ์ดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้ว ยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็ก เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด ฯลฯ ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิต อันนำไปสู่ความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิม และมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา 

เครื่องมือสำริด


   2.2 ยุคเหล็ก (Iron) ประมาณ 2,700 – 2,000 ปีมาแล้ว ช่วงเวลานี้เริ่มต้นการพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์ที่สามารถหลอมโลหะประเภทเหล็กขึ้นมาทำเครื่องมือเครื่องใช้ได้ เหล็กมีความแข็งแกร่งคงทนกว่าสำริดมาก การผลิตเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงและมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็กจะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นรัฐ เพราะการผลิตเหล็กทำให้สังคมสามารถผลิตอาวุธได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถขยายกองทัพได้ และมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตรที่มีความคงทนกว่า แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้ คือ อารยธรรมเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว ยุคเหล็กมีความแตกต่างจากยุคสำริดหลายประการ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต การผลิตเหล็กทำให้กองทัพมีอาวุธที่แข็งแกร่งนำไปสู่พัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นรัฐที่มีกำลังทหารที่เข็มแข็ง เข้ายึดครองสังคมอื่น ๆ ขยายเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมา

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การเเบ่งยุคสมัยทางประวัติสาตร์


  การเเบ่งยุคทางประวัติศาตร์


1. การแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากล


     จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์  เป็นยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตและช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น 2 สมัย คือ


1) สมัยก่อนประวัติศาสตร์

     สมัยก่อนประวัติศาสตร์  เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้  จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร  ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์  จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ  เช่น  เครื่องมือ  เครื่องใช้  เครื่องประดับที่ทำจากหิน  โลหะ และโครงกระดูกมนุษย์
      ปัจจุบันการกำหนดอายุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย  อาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี  แบบแผนการดำรงชีพและสังคม  ยุคสมัยทางธรณีวิทยา  นำมาใช้ร่วมกันในการกำหนดยุคสมัย  โดยสามารถแบ่งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้ดังนี้



2) สมัยประวัติศาสตร์    

  เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาใช้แล้ว  โดยได้มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ
 ในยุคสมัยนั้นเป็นลายลักษณ์อักษร  มักพบอยู่ตาม   ผนังถ้ำ  แผ่นดินเหนียว  แผ่นหิน ใบลาน และแผ่นโลหะ
ชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ก้าวเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์  ในระยะเวลาไม่เท่ากัน  เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสรรค์อารยธรรมความเจริญที่แตกต่างกัน  ดังนั้น สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล